ยินดีต้อนรับ

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8

1. การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ


การนำเสนอผลงานโดยใช้โสตทัศนศึกษานั้นมีเหตุผลเบื้องลึกคื หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ซึ่งได้มีการค้นพบจากนักวิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดย ผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่างคือ ทั้งตาและหูพร้อมกัน

2. หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
การดึงดูดความสนใจ
ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3. การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายเป็นผู้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี
การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ ชม แต่ข้อเสียคือ ไม่มีความยืดหยุ่นไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น
4. เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
การนำเสนอSlide presentation
1.1โดยใช้โปรแกรมpower point
1.2โดยใช้โปรแกรมproshow Gold
1.3โดยใช้โปรแกรมFlip Album
รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
2.1การใช้โปรแกรมAuthorware
2.2การใช้ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์Moodle
5. รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
การนำเสนอแบบSlide presentation
การนำเสนอแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
Internet คืออะไร
Internet คือ ระบบเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้า
ด้วยกันโดยใช้ protocol มาตรฐานสำหรับinternet (IP) เพื่อบริการ
แก่ผู้ใช้จำนวนหลายพันล้านคนทั่วโลก เป็นเครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลาย
(network of networks)
ความสำคัญของ internet ในการศึกษา
-เป็นขุมคลังอันมหึมาของสารสนเทศ
-มีข่าวสารข้อมูลใน Internet ให้เข้าถึงได้แบบ online / สามารถเข้าถึงสารสนเทศในเวลาใดเวลาหนึ่งได้
-แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ online ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ encyclopedia ที่ใครก็สามารถเข้าถึงสารสนเทศonline นี้ ได้ตามที่ต้องการ
ISP หรือ Internet Service Provider
Ò: หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Òทำหน้าที่เสมือนประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้
หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมี 2 ประเภท
1. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (commercial ISP)
2. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ(non- commercial ISP)
การเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต
Òผ่าน ISP โดยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท
Òวิธีที่1 ต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยมีโมเด็ม(modem)ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วต่อเข้ากับสายโทรศัพท์
Òถ้าเป็นสายISDN (Integrated Services Digital Network)ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะ
Òวิธีที่2 ต่อด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL หรือบรอดแบรนด์ โดยใช้โมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์ แต่จะรับส่งสัญญาณในสายคนละแบบคนละความถี่กัน ซึ่งจะทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา และต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษที่ชุมสายจึงจะใช้ได้
Òเมื่อเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ได้แล้ว ก็หมุนหมายเลขโทรศัพท์ปลายทางไปยัง ISP เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dial- Up
คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
•คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
ส่วนที1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
- แป้นอักขระ (Keyboard)
-แผ่นซีดี (CD-Rom)
-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่3 หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่4 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
(Peripheral Equipment)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล (Processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output
Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)
ส่วนที่1 CPU
CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง
มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)
ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)
จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

1.หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)
1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM=Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
1.2 หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วย
เก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่อง
คอมพิมเตอร์แล้ว
หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามา
ประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรืหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยคอมพิวเตอร์
ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (DaOperator)
-นักวิเคราะห์ระบบงาน
ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่
-โปรแกรมเมอร์
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
-วิศวกรระบบ
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
-พนักงานปฏิบัติการ
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้
เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7

1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
มีทั้งหมด 4 ประเภท
อินทราเน็ต เป็นเครือข่ายภายองค์กรหนึ่งๆ
เอ็กซ์ทราเน็ต ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลเนื่องจากมีเจ้าของ และเจ้าของเป็นผู้กำหนดว่าใครบ้างสามารถเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้
รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆเครือข่ายของ คอมพิวเตอร์ทั้ง3ประเภทที่กล่าวมาเป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุ ประสงค์ที่ต่างกัน
2.อินทราเน็ต (Imtarnet)หมายความว่าอย่างไร
เป็นเครือข่ายภายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรหรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยขน์ ขององค์กร คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกันหรือกระจายกัน อยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลก
3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์Googleพอสังเขป
ให้พิมพิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง2-3คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ต้องการค้นหา
5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
(ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อ พิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุด แบบดั้งเดิม
6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
เว็บไซต์โครงการ SchoolInet@ 1509 (http://www.school.net.th) เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
เว็บไซต์ Learn Online (http://www.learn.in.th) ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไทยเป็นเว็บสำหรับเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต เน้นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกระดับการศึกษา

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6
1.อินเทอร์เน็ต (Internet)หมายความว่าอย่างไร
เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลเข้า ด้วยกันโดยปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่มากมายกว่า 60 ล้านเครื่อง
2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
มีความสำคัญดังนี้
สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อ ค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ด้านการศึกษา เช่น ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ เช่น ค้นหาข้อมูลต่างๆเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
ด้านการบันเทิง เช่น สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ได้ เป็นต้น
4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modemหมายความว่าอย่างไร
อุปกรณ์แปลงสัญญารคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ปลายทาง
5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
การให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ (world wied web หรือ www) เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านั้นสามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย
6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
สามารถรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail ซึ่งจดหมายเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับไม่ว่าอยู่ ที่ใดในโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น

นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
รูปแสดงสื่อที่ช่วยในการรับส่งข้อมูล


บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
รูปแสดงการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม